ฟังก์ชั่น และโหมดแฟลช Nissin i60 |
|
ในโหมดวัดแสงแฟลช จะมีใช้กันอยู่ในกล้องโซนี่คือ ADI กับ TTL โดย TTL : เป็นระบบวัดแสงแฟลชผ่านเลนส์ โดยใช้ระบบวัดแสงภายในกล้องช่วย ถ้าแสงน้อยไปก็จะเพิ่มเวลาในการยิงแฟลชให้นานขึ้น แต่ถ้าแสงแฟลชที่สะท้อนกลับมาพอดีแล้วก็ตัดการยิงแสงแฟลชทันที แต่ก็จะมีจุดอ่อนที่จะโดน Background สีดำหรือสีขาวหลอกได้ ADI : จะเป็นการคำนวณการให้แสงแฟลชโดยใช้การวัดแสงผ่านเลนส์ร่วมกันกับระยะโฟกัสที่เลนส์หมุนไปเพื่อที่จะได้ประมาณการระยะห่างของตัวแบบกับกล้อง เพื่อให้แสงแฟลชที่เหมาะสม โดยลดปัญหาการโดน Background สีดำหรือสีขาวหลอก ในการใช้งานจริงเมื่อแฟลชอยู่บนหัวกล้องเราจะไม่นิยมยิงแสงแฟลชไปตรง ๆ ไปหาแบบเพราะจะได้แสงแข็ง การเลือกยิงสะท้อนเพดานเพื่อให้ได้แสงที่นุ่มนวลขึ้น ถ้าถ่ายภาพในห้องที่เพดานไม่สูงนักเรามักจะเลือกยิงสะท้อนเพดาน ปล.ถ้าปรับโหมดแฟลชไปที่ตัว A จะเป็นการใช้โหมดแฟลช ADI แฟลชจะทำงานกับระบบวัดแสงแบบ ADI ก็ต่อเมื่อหัวแฟลชยิงตรงไปหาแบบเท่านั้นถ้าหักหัวแฟลชขึ้นหรือบิดไปทางซ้ายหรือขวา โหมดวัดแสงแฟลชจะเปลี่ยนเป็น TTL ทันที |
 ปรับแป้นหมุนโหมดแฟลชไปที่ A จะเป็นการใช้ ADI เมือหัวแฟลชยิงตรงไปด้านหน้าแต่ถ้าปรับหัวแฟลชไปทางอื่นก็จะกลายเป็น TTL แนะนำให้ตั้งเป็น A เมื่อต่อแฟลชไว้ที่หัวกล้อง แล้วควบคุมแฟลชจากกล้องได้เลย | |  เลือก TTL จะเป็นการทำงานแบบวัดแสงผ่านเลนส์ เราสามารถ ปรับชดเชยแสงแฟลช (Over / Under) ได้โดยการหมุนที่แป้นด้านขวาได้เลย |
|
|
 รูปงานแถลงข่าว โครงการ RPST YOURS 4 & BIG CAMERA PHOTO CONTEST & UNIVERSITY ROAD SHOW 2016 แสงเข้ามาทางด้านซ้ายมือทำให้เกิดเงาบนใบหน้า และยิ่งคนทางซีกขวาได้แสงน้อยกว่ายิ่งดูมืดเข้าไปใหญ่ |
|
 การยิงแฟลชสะท้อนเพดาน ช่วยให้ทุกคนได้รับแสงหลักจากแฟลช ทำให้ได้แสงที่เกลี่ยกระจายครอบคลุมทุกคน |
|
 เพียงอาศัยแฟลช i60A ที่ต่ออยุ่บนหัวกล้อง ยิง Bound กับเพดาน ด้วยทางเดินเชื่ออาคารกับที่จอดรถที่ไม่ใหญ่ ก็สามารถสร้างแสงได้ครอบคลุมให้แสงที่สวยงามและ Clear |
|
|
|
|
 | | Flash Mode Manual โหมดแฟลช Manual หรือปรับด้วยกำลังไฟด้วยตัวเอง โดยสามรถเพิ่มกำลังไฟได้ 9 ระดับ (ปรับเพิ่มลดได้ละเอียดทีละ 1/3 Stop) ยิงแฟลชเต็มกำลัง 1/1 ยิงครึ่งกำลัง 1/2 และ ลดกำลังไฟแฟลชลงไปเรื่อย ๆ จนถึง 1/256 การทำงานแฟลชโหมด Manual มักจะใช้เมื่อทำงานร่วมกับโหมดถ่ายภาพ M ในกรณีที่ตั้งค่าทุกอย่างไว้หมดแล้ว วัตถุที่จะถ่ายไม่การขยับไปไหน เช่นการถ่ายคนใน Studio หรือถ่ายภาพสินค้า Packshot ที่จัดแสงแล้วจะไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงอะไรอีก หมุนแป้นด้านซ้ายเลือกโหมด Manual แป้นหมุนด้านขวาปรับกำลังไฟแฟลช |
|
|
 Sony A7 | Speed 1/100 F-Stop 8.0 ISO 800 + Sony FE 90mm f/2.8 Macro (G) OSS + Nissin i60A การถ่ายภาพแนว Packshot หรือถ่ายภาพสินค้า การใช้โหมดแฟลช Manual จะถือว่าง่ายที่สุดเมื่อ Set แสงกับค่ากล้องได้แล้ว ก็ถ่ายมุมต่าง ๆ ตามต้องการ |
|
|
|
|
ฟังก์ชั่น Slave Film (SF) & Slave Digital (SD) คือการเปิดตัวรับแสงแฟลชให้สั่งให้แฟลชยิงตามเมื่อได้รับแสงจากแฟลชตัวอื่น การทำงานนี้มักจะใช้เมื่อนำแฟลชไปใช้งานร่วมกับแฟลชตัวอื่น ไม่ว่าจะใน Studio โดยการใช้งานจะสามารถตั้งกำลังไฟแฟลชได้ 9 ระดับ - Slave Film (SF) : ใช้งานร่วม External Flash รุ่นเก่า หรือแฟลช Studio ที่จะไม่มีการยิงแสง Pre-Flash ออกมา โดยยิงแฟลชตามแสงแฟลชยิงออกมาทันที - Slave Digital (SD) : ใช้ง่ายร่วมกับแฟลชรุ่นใหม่ที่มีการ Pre-Flash ก่อนเพื่อวัดแสงและจะยิงแฟลชเต็ม ๆ อีกรอบ และเมื่อได้รับแสงแฟลชรอบสองก็จะยิงตาม โดยส่วนใหญ่จะเป็นแฟลช POP-UP หัวกล้อง หรือตอนใช้แฟลชติดหัวกล้องในโหมด TTL | |  |
|
|
ฟ Sony A7r II | Speed 1/30 F-Stop 4.5 ISO 200 + Sony FE 24-70mm f/4.0 ZA T* + Nissin i60A [RAW] ช็อตนี้ผมใช้แฟลช i60 ไปยิงสีแดงที่ Background แต่วางแฟลชอยู่หลังกำแพงด้านหลังทำให้สัญญาณ wireless ของแฟลชมีปัญหาติดบ้างไม่ติดบ้างจึงแก้โดยการใช้ Slave Film (SF) แทน |
|
|
|
|
Video Light แสงไฟต่อเนื่องสำหรับถ่าย Video ปรับความสว่างได้ 9 ช่วยสร้างความสว่างให้กับด้านหน้ากล้อง ขณะถ่าย VDO หรือจะย้ายไปวางตำแหน่งอื่นเพื่อสร้างทิศทางแสงอื่น ก็ได้ ใช้เป็นไฟฉายสำหรับตอนเดินทางก็ยังได้ ปล. เปิดเต็มกำลังได้นานประมาณ 3.5 ชั่วโมง
| |  |
 |
|
|
|
Zoom Flash คือการปรับหัวแฟลให้ยิงแสงแฟลชออกมากระจายแสงครอบคลุมองศาการรับภาพของเลนส์ โดยเราสามารถตั้งเป็น Auto หรือจะเลือกให้เหมาะกับกับความต้องการก็ได้ |
|
 การใช้งาน กดตรงลูกศรชี้ลง 1ครั้ง แล้วหมุน Dialขวามือเพื่อเลือกระยะเลนส์ที่ต้องการให้หัวแฟลชซูมไป | |  แผ่นกระจายแสงเลนส์มุมกว้างเก็บอยู่ด้านล่างอย่าลืมดึงออกมาใช้เมื่อใช้เลนส์ที่กว้างกว่า 24มม แต่รองรับไม่เกิน 16มม
การทำงานหลอดแฟลชด้านในหัวแฟลชจะขยับเข้าออกเพื่อทำให้แสงที่ยิงออกมามีการกระจายแสงต่างกัน |
| |  |
|
|
 A แทน Auto แฟลชจะปรับซูมหัวแฟลชตามระยะเลนส์ที่เราใช้ หรือเราซูม | |  หมุนแป้นด้านขวาเพื่อเลือกระยะเลนส์ที่ต้องการ กว้างสุดคือ 24 มม | |  ระยะเลนส์ไกลสุดที่หัวแฟลชซูมรองรับคือ 200มม |
|
|
|
|
|
Flash Duration การทำงานของแฟลชจริง ๆ แล้วแฟลชจะยิงแสงออกน้ำหนักเท่าเดิมตลอด แต่การที่เรารู้สึกว่าสว่างขึ้นหรือเบาลง เป็นการใช้เวลาในการยิงแสงออกมายาวหรือสั้น โดยการยิงแฟลชเต็มกำลังจะเป็นการยิงแสงแฟลชต่อเนื่องโดยประมาณ 1/1000 วินาที เมื่อลดกำลังแฟลชลง แฟลชก็จะยิงแสงด้วยเวลาที่สั้นลง
ด้วยหลักการที่เราใช้เวลาในการฉายแสงของแฟลชที่เร็วมาก ทำให้เราสามารถนำหลักการนี้มาใช้เล่นได้มากมาย อย่างหนึ่งคือการใช้ Speed Shutter ต่ำแต่สามารถหยุดการเคลื่อนไหวของวัตถุได้
Power | Speed | 1/1 | 1/1050 sec. | 1/2 | 1/1100 sec. | 1/4 | 1/2700 sec. | 1/8 | 1/5900 sec. | 1/16 | 1/10900 sec. | 1/32 | 1/17800 sec. | 1/64 | 1/32300 sec. | 1/128 | 1/41600 sec. | ตาราง Duration ของ Nikon SB800 | |  |
|
|
|
|
|
Slow Sync & Rear Sync Slow SyncSlow Sync คือการกำหนดให้การถ่ายภาพด้วยแฟลชใน Mode A P ให้ลด Speed Shutter ลงต่ำกว่า 1/60 เพื่อรับแสงฉากหลัง (โดยปกติเมื่อต่อแฟลชที่หัวกล้องในโหมด Fill Flash Speed Shutter จะไม่ต่ำกว่า 1/60)มักจะใช้ในสถานะการณ์ต้องการถ่ายภาพคนโดยใช้แฟลชและต้องการแสงฉากหลังที่สวยงาม | |  | |  |
|
|
Rear-Curtain Sync แฟลชสัมพันธ์ชัตเตอร์ชุดที่ 2 แฟลชจะถูกยิงเมื่อม่านชัตเตอร์กำลังจะปิด แนะนำใช้งานเมื่อถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวร่วมกับแฟลช โดยใช้โหมด M และใช้ Speed Shutter ต่ำกว่า 1/30 (แฟลชสัมพันธ์ชัตเตอร์ชุดที่ 1 จะอยู่ในโหมดแฟลช Fill ,Slowโดยแฟลชจะถูกยิงออกมาทันทีเมื่อม่านชัตเตอร์เปิดเสร็จ) ดูความแตกต่างระหว่าง Slow Sync และ Rear Sync โดยการถ่ายภาพลูกแก้วตกลงสู่พื้น ด้วย Speed Shutter 1/8 F8.0 ISO 800 จะเห็นว่ารูปที่ถ่ายใช้ Speed Shutter ค่อนข้างต่ำ เมื่อใช้โหมด Slow Sync จะเห็นว่าได้ภาพลูกแก้วก่อนกระทบพื้นและมีรอยวิ่งต่อมาถึงพื้น ในการทำงานเมื่อหน้ากล้องเปิดแฟลชจะยิงทันทีทำให้ได้รูปลูกแก้วที่ชัดเจนก่อน แต่หน้ากล้องยังไม่ปิด เลยเห็นลูกแก้ววิ่งตกลงมาต่อเพราะได้แสงจากแวดล้อมเลยเห็นเหมือนเงาลูกแก้ววิ่งลงสู่พื้น ดูไม่เป็นธรรมชาติ ซี่งอาจจะทำให้เข้าใจได้ว่า เป็นภาพลูกแก้วกระเด้งขึ้นจากพื้น แต่เมื่อใช้ Rear Sync จะเห็นลูกแก้วก่อนถึงพื้นและมีรอยหล่นมาจากด้านบนที่ดูเป็นธรรมชาติกว่า โดยหลักการทำงาน เมื่อบันทึกภาพเมื่อหน้ากล้องเปิด แฟลชจะยังไม่ทำงานทำให้ได้ภาพเงาลูกแก้ววิ่งลงมาเพราะได้แสงแวดล้อม และเมื่อหมดเวลาเปิดหน้ากล้องแฟลชจะยิ่งออกมาแล้วปิดหน้ากล้องทันทึ ทำให้ได้ภาพลูกแก้วที่ชัดเจนอยู่ตอนหน้า |
 | |  | Slow Sync | | Rear Sync |
|
|
บางครั้งเราก็ต้องการถ่ายภาพคนร่วมกับฉากหลังที่แสงค่อนข้างน้อยทำให้ต้องใช้เทคนิค Slow Sync ซึ่งถ้าเราเข้าใจหลักการ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ โหมดถ่ายภาพ A ก็ได้ เราสามารถใช้ M โดยปรับ Speed Shutter ให้ต่ำจนเก็บแสงธรรมชาติได้ และใช้ Flash เปิดรายละเอียดคนทีต้องการถ่าย โดยกำหนดความแรงให้พอดีกับตัวแบบ ก็เป็นอันเสร็จ ** ** ปัญหาของแฟลช Nissin i60A เวลาแยกแฟลชจะต้องตั้งโหมดแฟลชในตัวกล้องเป็น WL หรือ Wireless Flash ทำให้ไม่สามารถใช้โหมด Rear Sync ได้จึงน่าเสียดายถ้าใช้เทคนิค Slow Sync ด้วยMode M แล้วก็ไม่สามารถใช้สัมพันธ์กับม่านชัตเตอร์ชุดสองได้ |
 | |  | ด้วย Speed Shutter 1/15 F4 ISO 640 ถือว่าเป็น Speed Shutter ที่ต่ำมากไม่สามารถหยุดคนกระโดดได้ แต่รูปนี้หยุดได้ด้วยแสงแฟลช | | เงาที่เห็นจะทำให้นึกว่า ถ่ายตอนกระโดดลง แต่จริง ๆ ถ่ายตอนกระโดดขึ้น |
|
|
|
|
|
Nissin i60A + Air 1 Commander จุดเด่นที่ Nissin i60A มีคือตัวแฟลชได้ฝังตัวรับสัญญาณ wireless เพื่อการทำงานร่วมกันตัว Command Air 1 เพื่อแยกแฟลชออกจากตัวกล้อง ทำให้เราสามารถสร้างสรรค์ภาพได้มากยิ่งขึ้น โดยวัตถุประสงค์หลักในการแยกแฟลชออกมาพอจะจำแนกได้ดังนี้ครับ 1. เพื่อใช้เป็นแสงหลัก 2. เปลี่ยนแสงหลัก เช่นแหล่งกำเหนิดแสงเดิมคือท้องฟ้า ก็ใช้แฟลชเป็นแสงหลักแทน 3. ใช้เป็นแสงเสริมเพื่อลบเงา ลดคอนทราส 4. เปลี่ยนทิศทางแสง เพื่อสร้างแสงและเงาตามต้องการ 5 เพื่อเพิ่มระยะทางในการถ่ายภาพ โดยให้แฟลชอยู่ใกล้แบบ และดัวกล้องสามารถถอยห่างจากตัวแบบได้ไกลมากยิ่งขึ้น 6.แก้สี ให้วัตถุได้แสงที่ถูกต้อง เพราะแสงแฟลชจะให้แสงสีขาว หรือ 5500K | |  การควบคุมแฟลชที่แยกด้วยตัว Command Air 1 ทำได้ง่ายมาก |
|
|
 |
|
 สำคัญที่สุดเมื่อใช้ AIR 1 ที่กล้องต้องตั้งโหมดแฟลชเป็น WL ในโหมดถ่ายภาพ A S P M และที่แฟลชเลือก TTL เราสามารถควบคุมกำลังไฟแฟลชจากกล้องได้ | |  ที่ตัวแฟลช i60A โหมดแฟลช เลือก Group ที่ต้องการว่าจะให้อยู่กลุ่มไหน |
|
|
วิธีเชื่อต่อ Flash i60 กับ Air 1 |
|
 |
|
การเชื่อมต่อ Air 1 กับแฟลช i60A 1. ปิด แฟลช i60A ก่อน แล้ว กดปุ่ม เปิด-ปิด พร้อมกับกดกลางแป้นฟังก์ชัน ค้างไว้ 3 วินาที ไฟแสดงสถานะจะกระพริบ (ถ้าจะเชื่อมแฟลชมากกว่า 1 ตัวให้ทำพร้อมกัน ก่อนไปเปิด Air 1 หาสัญญาณ) 2. ปิด Air 1 ก่อน แล้ว กดปุ่ม (4) Mode พร้อมกับกดปุ่ม (5) เปิด-ปิด ค้างไว้ 3 วินาที ไฟแสดงสถานะจะกระพริบ และจะเชื่อมกับแฟลชที่กด Pairing ไว้เอง | |  | เลือกโหมดแฟลช กดปุ่ม (2) Mode เพื่อเลือกโหมด TTL > Manul > Zoom Flash และกดปุ่ม (4) เลือกแฟลชกลุ่มที่ต้องการควบคุม โดยสามารถเลือกแบบทุกกลุ่มหรือทีจะกลุ่มก็ได้ ใช้แป้นหมุน (3) เลือกระดับที่ต้องการ การ Reset ค่า Air 1 กลับไปเป็นค่าเริ่มต้น กดปุ่ม (2) Mode ค้างไว้ 5 วินาที | |  | การเปลี่ยน Channel ในกรณีที่แฟลชยิงได้บ้างไม่ได้บ้างอาจจะมีปัญหาคลื่นวิทยุชนกัน การเปลี่ยนช่องสัญญาณไปย่านอื่นด้วยตัวเองจะช่วยได้ในระดับหนึ่ง กดปุ่ม (4) S ค้างไว้ 3 วินาที หน้าจอจะขึ้นแถบ CH ที่ Group B ใช้แป้นหมุน (3) หมุนเพื่อเลือกช่องสัญญาณ 1-8 ดัวตัวเอง
| |  | เปิด-ปิดเสียง ในตัวแฟลช i60A จะมีเสียงยืนยันเมื่อชาร์ตไฟเต็มแล้ว หรือจะมีเสียงแสดงสถานะการชาร์ตพลังงานอยู่ กดปุ่ม (5) เปิด-ปิดแฟลช 1 ครั้ง ไฟแสดงสถานะ (6) จะเปลี่ยนสี ส้มคือมีเสียง ขาวไม่มีเสียง | |  | High Speed Sync ในกรณีที่ต้องการถ่ายภาพร่วมกับแฟลชโดยใช้ Speed Shutter เกินกว่า X-Sync หรือสัมพันธ์แฟลชมาตรฐาน ต้องใช้โหมด High Speed Sync Flash (X-sync [A7 : 1/200, A7r II : 1/250, A7r & A6X00 : 1/160] กดปุ่ม (6) ไฟแสดงสถานะ ค้างไว้ 3 วินาที จนไฟแสดงสถานะกระพริบ แสดงว่าเปิดใช้ HSS Flash เรียบร้อย | |  |
|
|
 ชุดอุปกรณ์สำหรับ เล่นแฟลชแยก [แฟลช Nissin i60A / Air 1 / หัวจับแฟลชหรือ Flash Holder หรือ Umbrella Holder , ตั้งไฟสตู ร่มทะลุ หรือร่มสะท้อน] |
|
 สำหรับขาแฟลชโซนี่ไม่แนะนำให้ใช้พวกตัวจับแฟลชแบบที่เป็นตัวหนีบนอกจากจะทำให้ขาแฟลชอาจจะหักแล้ว ยังจับไม่ค่อยอยู่ตอนย้ายแฟลชพร้อมขาตั้งอาจจะหลุด หรือเหวี่ยงทำให้ขาแฟลชหักได้ |
|
 แนะนำตัวจับแฟลชแบบหนีบหัวแฟลชทั้งตัวแบบนี้ครับ ที่ผมใช้อยู่คือ Godox S-type |
|
|
|
 Sony A7r II | Speed 1/250 F-Stop 5.6 ISO 100 + Sony FE 24-70mm f/4.0 ZA T* + Nissin i60A [RAW] ให้แสงแฟลชเป็นแสงหลักช่วยให้กดแสงฉากหลังให้มืดลงเล็กน้อยได้ แต่ก็ควรระวังปัญหาไฟสะท้อนกับแว่นตาแบบด้วย |
|